บิสิเนสแบ็กสเตจ รศ.ดร.เอกชัย อภิศักดิ์กุล คณบดีคณะวิทยพัฒน์ และผู้อำนวยการศูนย์ธุรกิจครอบครัว มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ([email protected])
สําหรับผู้ก่อตั้งธุรกิจครอบครัวแล้วไม่มีใครจะซาบซึ้งในเส้นทางการสร้างธุรกิจ ซึ่งต้องผ่านช่วงเวลาที่ใช้ความพยายามอย่างหนัก คืนวันที่ไม่อาจข่มตาให้หลับตาลงได้และการตัดสินใจที่ยากลำบากในการสร้างธุรกิจที่พิเศษนี้ขึ้นมาได้เท่าตนเองอีกแล้ว บางครั้งธุรกิจอาจรอดมาได้หลายชั่วอายุคน แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่งคนรุ่นต่อไปอาจไม่ต้องการทำงานในธุรกิจครอบครัวอีกต่อไป จึงปล่อยให้เป็นความรับผิดชอบของคนเป็นเจ้าของเพียงลำพัง ซึ่งไม่ใช่แค่ครอบครัวเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบเมื่อต้องขายธุรกิจ แต่ยังรวมถึงพนักงานที่ภักดีซึ่งมอบพลังและความทุ่มเทให้อย่างมากมาย และการตัดสินใจขายกิจการไม่เพียงส่งผลต่ออนาคตทางการเงินของคุณและครอบครัวเท่านั้น แต่ยังรวมถึงอนาคตของคนที่ไว้วางใจคุณและครอบครัวที่พึ่งพาคุณอีกด้วย
อย่างไรก็ตามแท้จริงแล้วเจ้าของธุรกิจส่วนใหญ่ไม่ต้องการขายธุรกิจของตน เพราะอาจยังรู้สึกอ่อนวัยและมีพลังและยังคงสนุกกับสิ่งที่ทำอยู่ และธุรกิจทำให้ชีวิตมีเป้าหมายมากขึ้นและสร้างความภาคภูมิใจมากมาย ซึ่งหากในภายในปีหรือ 2 ปีนี้ธุรกิจยังมีแนวโน้มจะไปได้ดีก็น่าจะลองต่อไปอีกสักตั้ง ทั้งนี้มีผู้ประกอบการมากมายที่รู้สึกเช่นนั้น สิ่งสำคัญคือการใช้เวลาทำความเข้าใจกับสมาชิกในครอบครัวถึงศักยภาพของธุรกิจที่สามารถจะประสบความสำเร็จอย่างต่อเนื่องได้อีกภายใต้ผู้นำคนใหม่ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ และต่อไปนี้คือสิ่งที่ต้องพิจารณาเพื่ออนาคตที่ดีของธุรกิจและครอบครัว โปรดจำไว้ว่าครอบครัวและธุรกิจเป็นสิ่งที่ต้องแยกออกจากกันให้มาก
1. ตลาดของผู้ซื้อ: ผู้ซื้อล้วนอยากได้ธุรกิจที่มีคุณภาพ โดยทั้งผู้ซื้อที่มุ่งเน้นกลยุทธ์และการเงินจะแข่งขันกันเพื่อจ่ายเงินสูงสุดให้กับธุรกิจที่มีประสิทธิภาพ พวกเขาสนใจทั้งธุรกิจที่เจ้าของพร้อมจะเกษียณและเจ้าของที่ต้องการพักเพื่อเข้าไปช่วยในการดำเนินธุรกิจ โดยมีข้อเสนอให้เจ้าของรับเงินสดจำนวนมากและยังคงเป็นเจ้าของหุ้นส่วนน้อยที่มีความสำคัญในธุรกิจ ให้พิจารณาว่าคนรุ่นต่อไปในครอบครัวของคุณมีเงินพอที่จะจ่ายให้กับมูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจหรือไม่ เนื่องจากพบว่าธุรกิจครอบครัวจำนวนมากที่ขายให้กับคนรุ่นใหม่ดำเนินงานแล้วเกิดปัญหาและจบลงด้วยการที่พ่อแม่ต้องแบกรับการลงทุนที่มองไม่เห็นการคืนทุน
2. อนาคตไม่มีความแน่นอน: ภาษีศุลกากร ตลาดแรงงานมีความตึงตัวและความเสี่ยงทางธุรกิจอื่น ๆ อีกมากมายจะมาพร้อมกับการเป็นเจ้าของธุรกิจ ดังนั้นให้พิจารณาข้อตกลงการซื้อขายให้ดีเมื่อการขายยังเป็นทางเลือกที่ดีอยู่ สมาชิกในครอบครัวของคุณอาจไม่ชอบความคิดในการเป็นหนี้จำนวนมากเมื่อต้องจ่ายเงินให้พ่อแม่ นอกจากนี้สมาชิกในครอบครัวรุ่นที่ 2 หรือ 3 ยอมรับว่าไม่ต้องการเป็นสมาชิกครอบครัวที่ครอบครองธุรกิจครอบครัวที่ประสบปัญหา ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้และนั่นย่อมจะทำลายมรดกของครอบครัวลง ดังนั้นหากธุรกิจของคุณยังดำเนินไปได้ดีในวันนี้และคิดว่าจะทำได้ดีมากขึ้นในอีก 2-3 ปีข้างหน้า ควรคำนึงถึงผลกระทบของปัจจัยภายนอกที่อาจส่งต่ออุตสาหกรรมและลูกค้าของคุณด้วย
3. ความสามัคคีในครอบครัว: จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากเมื่อลูกเป็นหนี้พ่อแม่ และตัวเลขในการซื้อขายธุรกิจครอบครัวมีจำนวนมาก ให้พิจารณาโดยเร็วที่สุดว่ามีแผนสืบทอดกิจการและมีสมาชิกในครอบครัวที่มีศักยภาพสักคนหรือสองคนหรือไม่ และใครในครอบครัวที่จะต้องรับผิดชอบ เนื่องจากธุรกิจที่ดำเนินการโดยคณะกรรมการมีแนวโน้มที่จะสร้างความตึงเครียดในครอบครัวทั้งในและนอกบริษัทได้ ดังนั้นควรมีการแต่งตั้งผู้นำและต้องแน่ใจว่าสมาชิกในครอบครัวให้การยอมรับด้วยความสบายใจ
ดังนั้นในเวลาที่จะเตรียมบริษัทให้พร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ควรมองข้ามตลาดของผู้ขายซึ่งในท้ายที่สุดจะเป็นการดีที่สุดเสมอหากจะสามารถเพิ่มมูลค่าของสิ่งที่ใช้ความพยายามมาตลอดชีวิตและแบ่งปันผลสำเร็จนั้นให้กับครอบครัวด้วย
หน้า 21-22 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 40 ฉบับที่ 3,591 วันที่ 12 - 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2563
July 12, 2020 at 12:33PM
https://ift.tt/3emyY07
เมื่อต้องการขายธุรกิจครอบครัว - ฐานเศรษฐกิจ
https://ift.tt/3dXvwcw
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เมื่อต้องการขายธุรกิจครอบครัว - ฐานเศรษฐกิจ"
Posting Komentar