นายกลินท์ สารสิน ประธานคณะกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ทางหอการค้าไทยและภาครัฐได้เสนอผ่านที่ประชุมเตรียมมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังแล้ว นอกจากเรื่องการขอให้เร่งรัดเรื่องการเข้าถึงสินเชื่้อและแหล่งเงินกู้แล้ว ยังเสนอให้รัฐขยายเวลาช่วยเหลือลดภาระค่าใช้จ่ายด้านต่างๆ ถึงสิ้นปี 2563 หลักๆ คือช่วยเหลือด้านลดค่าไฟฟ้า ค่าประปา ผ่อนปรนเรื่องการจ่ายสมทบประกันสังคมของนายจ้าง รวมถึงสนับสนุนงบประมาณและให้ทุกหน่วยงานพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้มีเขี้ยวเล็บและเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันที่กำลังเผชิญกับปัญหาหลายด้าน และการเกิดวิถีใหม่ (นิวนอร์มอล)
“ระยะสั้นนี้อยากให้รัฐบาลคงการลดค่าใช้จ่ายให้เอสเอ็มอี ที่ได้หมดลงในเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมนี้ เนื่องจากเห็นว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ก็ยังไม่คลี่คลายหรือหมดไป น่าจะต่อเนื่องอีกหลายเดือน การค้าขายการทำธุรกิจ กำลังซื้อและเศรษฐกิจก็ยังไม่ฟื้นตัวเท่าปกติ อยากให้รัฐทำควบคู่ทั้งการหาแหล่งทุนใหม่เพื่อให้ต่อยอดธุรกิจ พร้อมกับลดภาระเพื่อพยุงธุรกิจในสถานการณ์ที่ยังต้องรักษาระยะห่างและดูแลในเรื่อง
จำนวนผู้เข้าใช้บริการ อีกทั้งปัญหาการว่างงานและการปิดธุรกิจชั่วคราวที่ผ่านมาเพื่อลดปัญหาการแพร่โควิด-19 ทำให้ถึงตอนนี้ส่วนใหญ่ยังไม่ฟื้นตัว และหากความกังวลและการตั้งการ์ดไม่ให้การระบาดโควิด-19 กลับมา จึงเป็นเรื่องที่รัฐต้องดูแลเอสเอ็มอีบางส่วนให้สามารถพยุงตัวได้ต่อเนื่องจากว่าจะมั่นใจว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 หมดลง และเริ่มเห็นการฟื้นตัวของเศรษฐกิจชัดเจน” นายกลินท์กล่าว
นายกลินท์กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมในการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19 เป็นเรื่องที่ภาคเอกชนเห็นด้วยและนำเสนอผ่านหลายหน่วยงานรัฐ อย่าง BCG Model (BCG Model คือ Bio Economy, Circular Economy และ Green Economy) โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ภาคเอกชนประชุมหารือการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) และมีการแยกออกเป็น 7 คณะทำงานย่อย โดยจะมีการนำเสนอบีซีจีโมเดลที่เกิดจากแนวคิดและข้อเสนอต่างๆ ในงานสัมมนาที่ อว.จัดขึ้น ซึ่งได้เชิญ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับฟังการบรรยายและแนวทางต่างๆ ในวันที่ 15 กรกฎาคมนี้ ที่อิมแพคเมืองทองธานี
“ข้อสรุปที่ภาคเอกชนเตรียมนำเสนอนั้น หากรัฐบาลนำไปบรรจุในศูนย์ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ได้เลย เพราะเป็นแนวคิดที่จะตอบโจทย์ว่าหลังจากโควิด-19 แล้ว ทิศทางประเทศไทยควรเป็นอย่างไร มีอะไรต้องปรับเสริมจากยุทธศาสตร์ชาติ โดยทางปฏิบัติหลังจากทุกฝ่ายเห็นพ้อง ก็จะมีนำร่องหลายโครงการโดยภาคเอกชน เช่น เชื่อมโยงเรื่องท่องเที่ยวและการฟื้นฟูรายได้ชุมชนผ่านแพคเกจการท่องเที่ยววิถีชุมชน เป็นต้น” นายกลินท์กล่าว
ผู้สื่อข่าวกล่าวว่า สำหรับ BCG Model คือ Bio Economy, Circular Economy และ Green Economy นั้น นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในฐานะประธานคณะทำงาน กล่าวไว้ว่า จุดประสงค์ของโมเดลบีซีจี จะเข้ามาขับเคลื่อนให้ไทยหลุดกับดักประเทศรายได้ปานกลาง กับดักความเหลื่อมล้ำ และกับดักความไม่สมดุล โดยวางเป้าหมายข้างหน้าอีก 5 ปี ตั้งเป้าว่าจะเพิ่มการจ้างงานเป็น 20 ล้านคน สร้างรายได้ 4.4 ล้านบาท คิดเป็น 24% ของจีดีพี หากทำให้ BCG ก้าวสู่ระดับโลกได้ และทำให้เกิดการลงทุนแบบสร้างบุคลากรรับบีซีจีต่อเนื่องไปอีก 10 ปี จะทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงประเทศอย่างแท้จริง
เกาะติดทุกสถานการณ์จาก
Line @Matichon ได้ที่นี่
July 12, 2020 at 08:41AM
https://ift.tt/2AUbL7M
ธุรกิจวอนรัฐต่อลดค่าไฟ-ค่าน้ำถึงสิ้นปี หนุนตั้งศูนย์ฟื้นศก.หลังโควิด - มติชน
https://ift.tt/3dXvwcw
Bagikan Berita Ini
0 Response to "ธุรกิจวอนรัฐต่อลดค่าไฟ-ค่าน้ำถึงสิ้นปี หนุนตั้งศูนย์ฟื้นศก.หลังโควิด - มติชน"
Posting Komentar