Search

คอลัมน์โลกธุรกิจ - ธุรกิจกล้องกับการปรับตัว - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

iyobusiness.blogspot.com

สัปดาห์ที่สามของเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 โอลิมปัส (Olympus) แบรนด์ชั้นนำระดับโลกในอุตสาหกรรมกล้องถ่ายรูปสัญชาติญี่ปุ่น ประกาศยุติกิจการกล้องถ่ายรูปอายุกว่า 84 ปี อันเนื่องมาจากปัญหาขาดทุนอย่างต่อเนื่อง

ช่วงหลายปีที่ผ่านมา ความนิยมของสมาร์ทโฟนที่พุ่งสูงขึ้น  ส่งผลให้ผู้บริหารตัดสินใจขายกิจการให้กับ Japan Industrial Partners (JIP) บริษัทที่เคยซื้อกิจการไวโอ้ (Vaio) จากโซนี่ (Sony) มาแล้วในปี พ.ศ. 2557

โอลิมปัสก่อตั้งในปี พ.ศ. 2462 ช่วงแรกมุ่งเน้นธุรกิจด้านกล้องจุลทรรศน์และเครื่องวัดอุณหภูมิ ต่อมาในปีพ.ศ. 2479ได้ผลิตกล้องตัวแรกและพัฒนาธุรกิจกล้องอย่างต่อเนื่องหลายทศวรรษจนมีชื่อเสียงระดับโลก ทั้งยังถูกใช้เป็นเครื่องหมายการค้า ปีพ.ศ.2539 โอลิมปัสเปิดตัวกล้องดิจิทัลตัวแรก สร้างความประทับใจแก่ผู้บริโภคและได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

แม้ว่าโอลิมปัสได้พยายามปรับโครงสร้างและลดค่าใช้จ่ายลงแต่ยังคงประสบภาวะขาดทุนตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมารวมถึงการแพร่ระบาดของโควิด-19 ยิ่งส่งผลให้ยอดขายตกต่ำลง บริษัทจึงได้ตัดสินใจขายกิจการกล้องถ่ายรูปทันที โดยมีข่าวลือเกี่ยวกับการขายกิจการมานานกว่าหนึ่งปี

เมื่อปีพ.ศ. 2562 โอลิมปัสมีรายได้จากธุรกิจกล้องอยู่ที่ 43.6 พันล้านเยน (ราว 12,600 ล้านบาท) ลดลงร้อยละ 10 เมื่อเทียบปี พ.ศ. 2561 และขาดทุนจากการดำเนินงาน 10.4 พันล้านเยน (ราว 3,000 ล้านบาท)

ในช่วงหลัง ธุรกิจกล้องถ่ายรูปต่างๆ ประสบปัญหา เพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคได้เปลี่ยนไป ผู้คนได้ใช้สมาร์ทโฟนเป็นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์ในการดำรงชีวิตในยุคปัจจุบันที่ทั้งสามารถถ่ายรูปและบันทึกวีดีโอได้ โดยอยู่ในสมาร์ทโฟนเพียงเครื่องเดียว การพัฒนาเทคโนโลยีการถ่ายภาพของสมาร์ทโฟนที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้ยอดขายกล้องถ่ายรูปและกล้องถ่ายวีดีโอ ลดจำนวนลงเป็นอย่างมาก แม้ว่าโอลิมปัสจะได้พยายามพัฒนากล้องถ่ายรูป ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น เพื่อดึงดูดใจลูกค้าและผู้บริโภค แต่ไม่สามารถต้านกระแสความเปลี่ยนแปลงได้ จึงต้องยุติการผลิตและจำหน่ายกล้องถ่ายรูปในที่สุด  กล้องโอลิมปัสคงเหลือไว้แต่ตำนาน   

ปัจจุบันโอลิมปัสมีรายได้หลักจากการผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ทางการแพทย์ โดยเฉพาะอุปกรณ์ที่เป็นกล้องโทรทัศน์สอดเข้าไปในร่างกาย เพื่อใช้ในการตรวจโรค
และผ่าตัดส่องกล้อง โดยภาพที่ได้จากกล้องโทรทัศน์ที่สอดเข้าไปในร่างกาย จะปรากฏอยู่บนจอโทรทัศน์ขนาดใหญ่ด้านนอกเพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโรคหรือทำการผ่าตัด โดยได้รับความสะดวกเป็นอย่างมาก ซึ่งโอลิมปัสยืนยันว่า ยังคงดำเนินกิจการอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่โอลิมปัสครองตลาดส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกล้องส่องอวัยวะภายในที่มีสัดส่วนทางการตลาดมากถึงร้อยละ 70

หากย้อนกลับไปเมื่อไม่กี่ 10 ปีที่ผ่านมา ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับธุรกิจกล้องถ่ายรูปครั้งใหญ่เช่นกัน จากเดิมกล้องที่เคยใช้ฟิล์ม ได้เปลี่ยนเป็นกล้องดิจิทัลที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม   

โกดัก ( Kodak) ชื่อเต็ม คือ บริษัท อีสต์แมนโกดัก(Eastman Kodak Company) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2432ที่เมืองรอเชสเตอร์ รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา โดยนักประดิษฐ์ฟิล์มม้วน ชื่อ จอร์จ อีสต์แมน (George Eastman) ชาวอเมริกันอีสต์แมนได้ทุ่มเทการผลิตฟิล์มม้วนที่มีความยืดหยุ่นและโปร่งแสง รวมถึงประดิษฐ์กล้องโกดักอันแรกที่ออกแบบสำหรับใช้กับฟิล์มม้วนโดยเฉพาะ นอกจากนี้โกดักได้ผลิตวัสดุเคมีภัณฑ์, วัสดุการถ่ายภาพ และได้รับการจดสิทธิบัตรฟิล์มแบบม้วน

โกดักประสบความสำเร็จมากที่สุดในการขายฟิล์มทั้งในอุตสาหกรรมการถ่ายภาพและอุตสาหกรรมหนังภาพยนตร์ปี พ.ศ. 2519 โกดักมีส่วนแบ่งตลาดสูงถึงร้อยละ 90 ของตลาดฟิล์ม และร้อยละ 85 ของตลาดกล้องถ่ายรูปในสหรัฐฯในปี พ.ศ. 2533 โกดักได้รับการจัดอันดับเป็น 1 ใน 5 ของแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก และรายได้ของโกดักสูงที่สุดในปี พ.ศ. 2539 ด้วยยอดขายเกือบ 16,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 496,000 ล้านบาท) และกำไรสูงสุดในปีพ.ศ. 2542ที่ 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ (ราว 77,500 ล้านบาท) สิ่งที่ทำให้โกดักประสบความสำเร็จ เพราะหลักการขายแบบใบมีดโกน(Razor-Blade Strategy) เน้นการขายกล้องราคาถูก แต่หวังรายได้จากการขายฟิล์ม น้ำยาเคมีและกระดาษอัดรูป

แม้ว่าโกดักจะประสบความสำเร็จอย่างสูงในธุรกิจฟิล์มสำหรับกล้องถ่ายรูป กล้องถ่ายรูปดิจิทัลอันแรกได้ถูกคิดค้นและประดิษฐ์ขึ้นโดยบุคลากรของโกดัก แต่วางจำหน่ายในชื่อทางการค้าว่า “Apple” โดยใช้ชื่อว่า “Quick Take” ออกวางจำหน่ายในปี พ.ศ. 2537  

แทนที่โกดักจะรีบใช้จังหวะก้าวในช่วงนั้น ที่บุคลากรของตนเองได้ประดิษฐ์กล้องถ่ายรูปดิจิทัลขึ้นเป็นครั้งแรกพัฒนาธุรกิจ เพื่อผลิตกล้องถ่ายรูปดิจิทัลอย่างจริงจัง แต่ด้วยความไม่มีวิสัยทัศน์ของผู้บริหารโกดักเอง จึงปฏิเสธกล้องดิจิทัล เพราะกลัวว่าจะมาแย่งตลาดฟิล์ม พนักงานคนนั้นจึงได้ลาออกจากโกดัก และไปทำงานให้กับบริษัทที่ทำธุรกิจกล้องถ่ายรูป โกดักกลับเลือกที่จะปฏิบัติตามแผนธุรกิจเดิม โดยไม่สนใจว่าโลกกำลังก้าวสู่ยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล โกดักขาดวิสัยทัศน์ เพราะมัวแต่หลงอยู่กับความสำเร็จของตัวเองโดยลืมนึกถึงการเติบโตของเทคโนโลยีดิจิทัลในที่สุดกล้องถ่ายรูปดิจิทัลได้เข้าแทนที่กล้องถ่ายรูปแบบใช้ฟิล์มกว่าโกดักจะรู้ตัวสายไปเสียแล้ว ไม่สามารถกลับตัวให้ทันและเสียส่วนแบ่งตลาดไปเกือบทั้งหมด      

ช่วงเวลาที่ถือเป็นจุดวิกฤติต่ำสุดของโกดักเกิดขึ้น ในช่วงปี พ.ศ. 2540 คู่แข่งรายใหญ่ไม่ว่าจะเป็นแคนนอน (Canon) นิคอน (Nikon) และฟูจิ (Fuji) ต่างเริ่มผลิต
กล้องดิจิทัลออกมาเปิดตลาดกล้องยุคใหม่ แทนการใช้ฟิล์มแบบม้วน ทั้งยังเป็นช่วงเวลาใกล้เคียงกับตลาดโทรศัพท์มือถือที่ได้พัฒนาเป็นแบบถ่ายรูปได้ และกลายมาเป็นยุคของสมาร์ทโฟนที่ครองตลาดทั่วโลกอย่างทุกวันนี้ จนตลาดของโกดักถูกบีบให้เล็กลงไปในเวลาอันรวดเร็ว

สภาพที่ตกอยู่ในภาวะถดถอยและมีภาระหนี้สูง เมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2545 โกดักตัดสินใจยื่นเรื่องต่อศาลล้มละลายและได้ทำแผนขอฟื้นฟูกิจการเพื่อชำระหนี้แก่
เจ้าหนี้ ช่วงเวลาของการปรับปรุงโครงสร้างเพื่อฟื้นฟูกิจการ โกดักตัดสินใจขายสิทธิบัตรทางเทคโนโลยีของตัวเอง รวมทั้งกิจการหลักธุรกิจภาพถ่ายบุคคล รูปเอกสารกิจการผลิตฟิล์มขายปลีก กระดาษอัดรูปและร้านถ่ายภาพขนาดเล็กอีกกว่าแสนแห่งทั่วโลก เพื่อสร้างรายได้นำไปชำระหนี้ แต่ในที่สุดเมื่อต้นปีพ.ศ. 2555 โกดักต้องประกาศล้มละลาย จากที่เคยผูกขาดอุตสาหกรรมถ่ายภาพมาเกือบศตวรรษ

ธุรกิจมีโอกาสอยู่รอด หากรู้จักปรับตัวตามยุคสมัย




July 10, 2020 at 02:00AM
https://ift.tt/3fs2aEl

คอลัมน์โลกธุรกิจ - ธุรกิจกล้องกับการปรับตัว - หนังสือพิมพ์แนวหน้า

https://ift.tt/3dXvwcw


Bagikan Berita Ini

0 Response to "คอลัมน์โลกธุรกิจ - ธุรกิจกล้องกับการปรับตัว - หนังสือพิมพ์แนวหน้า"

Posting Komentar

Diberdayakan oleh Blogger.