บทความว่าด้วย Healthcare Systems & Services ของ แม็คคินซีย์ ล่าสุดพูดถึงการเติบโตของ Telehealth หรือบริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ว่าเป็นเทรนด์ของธุรกิจที่กำลังมาแรงในช่วงสถานการณ์ COVID-19 โดยเฉพาะบริการทางการแพทย์เสมือนจริง หรือ Virtual Urgent Care ที่ทำรายได้มากกว่า 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในช่วงเวลาไม่กี่เดือน
การสำรวจล่าสุดพบว่า COVID-19 ได้ทำให้พฤติกรรมการใช้บริการทางการแพทย์ผ่านอินเตอร์เน็ตเพิ่มขึ้นอย่างเท่าตัว จาก 11% ในปี 2019 เป็น 76% ในช่วงการระบาดของ COVID-19 ขณะที่การให้บริการปรึกษาทางการแพทย์ผ่านระบบ Telehealth เพิ่มขึ้นจาก 57% เป็น 64% และการเติบโตของโรงพยาบาลที่เปิดให้บริการทางการแพทย์ผ่านระบบอินเตอร์เน็ตในสหรัฐอเมริกา มีหน่วยบริการเพิ่มขึ้นถึง 80 แห่งในช่วงเวลาเพียงไม่กี่เดือน
ผลสำรวจของ Global Market Insights ชี้ให้เห็นว่า ตลาด Telemedicine ทั่วโลกมีมูลค่า 38,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2562 และจะมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นไปถึง 135,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปี 2568 โดยมีอัตราเติบโตเฉลี่ยถึง 19.2%
ภายใต้ร่มใหญ่ของระบบ Telehealth ยังมีการนำเทคโนโลยีดิจิทัล หลากหลายรูปแบบ เข้ามาใช้ เพื่อเสริมประสิทธิภาพในการบริการการแพทย์ผ่านอินเตอร์เน็ต ไม่ว่าจะเป็น Teletriage เทคโนโลยีช่วยคัดกรองผู้ป่วยก่อนมาถึงโรงพยาบาล เป็นระบบที่ให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามประเมินความเสี่ยงผ่านทางวิดีโอคอล หรือรูปแบบอื่นๆ เพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์สามารถประเมินความเสี่ยง และแนะนำช่องทางการเข้ารับการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม ในกรณีที่ไม่มีความเสี่ยง แพทย์อาจแนะนำวิธีดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน โดยไม่จำเป็นต้องมาถึงโรงพยาบาล
ว่ากันว่า กลุ่มผู้ป่วยที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้ Telehealth มากที่สุด น่าจะเป็นกลุ่มคนไข้โรคไม่ติดเชื้อเรื้อรัง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ที่อาจใช้ระบบ Telemedicine ในการให้คำปรึกษาผ่านวิดีโอคอล (Teleconsultation) ร่วมกับการตรวจวัด (Telemonitoring) รูปแบบต่างๆ เช่น การใช้เครื่องวัดความดันที่เชื่อมต่อกับแอปพลิเคชัน และส่งข้อมูลตรงไปยังแพทย์เพื่อให้แพทย์สามารถประเมินผู้ป่วย และให้คำแนะนำต่อได้
ในสหรัฐฯและจีนมีการใช้งาน Telehealth กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากการเดินทางไปพบแพทย์ในบางพื้นที่นั้นใช้เวลาเดินทางนานมีการนำ อุปกรณ์ Telehealth ตัวหลักเชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เพื่อให้สามารถใช้ระบบ VDO Call ไปหาแพทย์ได้
หรือนำอุปกรณ์ เช่น เครื่องมือวัดอัตราการเต้นของหัวใจ วัดความดัน วัดอุณหภูมิของร่างกาย อุปกรณ์ตรวจช่องหู จมูก หรือปาก มาใช้ โดยหน้าจอจะแสดงวิธีและจุดที่ต้องนำเครื่องมือไปไว้ตามร่างกาย โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปที่แพทย์แบบ Real Time และแพทย์สามารถเข้าระบบผ่านคอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นรอคนไข้ VDO Call เข้ามาเพื่อทำการวินิจฉัยอาการเบื้องต้นให้กับคนไข้
ในช่วงเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา Ping An Good Doctor ผู้ให้บริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์รายใหญ่ในจีน มีการเพิ่มขึ้นของผู้ใช้งานรายใหม่ถึง 900% ในขณะที่รัฐบาลสหรัฐอเมริกาเพิ่งไฟเขียวให้ Medicare คุ้มครองการรักษาแบบ Telehealth เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงการรักษาพยาบาลได้สะดวกขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องมาที่โรงพยาบาล ซึ่งจัดเป็นพื้นที่เสี่ยง
American Telemedicine Association สถาบันที่มีข้อมูลและให้ความรู้ในเรื่องของ Telehealth เปิดโอกาสให้สถานพยาบาลที่อยากจะนำ Telemedicine มาใช้แก้ปัญหาต่างๆ สามารถศึกษาถึงการติดตั้งฮาร์ดแวร์ ระบบซอฟต์แวร์ที่ใช้ มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมถึงระบบการตรวจสอบตัวตนของแพทย์และคนไข้ ซึ่งมีโรงพยาบาลหลายร้อยแห่งเริ่มให้ความสนใจเข้าไปในระบบมากขึ้น
ในเอเชีย ประเทศที่ถือว่ามีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรม Telemedicine มากที่สุดคือ ไต้หวัน ที่มีการรวมเทคโนโลยี AI เข้ากับ Big Data เพื่อทำงานผ่านระบบข้อมูลทางการแพทย์และการวิเคราะห์ผ่านภาพถ่าย 3 มิติ มีการนำเทคโนโลยีที่หลากหลายมาสนับสนุนระบบ Telehealth เช่น กล้องบันทึกภาพเรียลไทม์ (Digital Portable Tonometer) ซึ่งเป็นกล้องถ่ายภาพขนาดจิ๋ว ประสิทธิภาพสูง เชื่อมต่อกับระบบวิเคราะห์ผลอย่างรวดเร็ว สามารถส่งข้อมูลตรงถึงแพทย์และสามารถวิเคราะห์ผลออกมาได้ทันที โดยสามารถอ่านค่าน้ำตาลสะสมในเลือด และไขมันในเลือดจากการเจาะเลือดจากปลายนิ้วผ่านทางเลนส์ด้านหน้าบนโทรศัพท์มือถือได้ โดยใช้เวลาเพียง 3 นาที
หรือแม้แต่การพัฒนานวัตกรรมตรวจระดับน้ำตาลในเลือดได้ด้วยตัวเอง ด้วยแพลตฟอร์ม Bionime Rightest Blood Glucose Ecosystem โดยอุปกรณ์ตรวจวัดจะเชื่อมโยงและส่งข้อมูลขึ้นไปไว้บนคลาวด์ ช่วยให้ผู้ใช้งานติดตามและควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
และไม่ว่า COVID-19 ระลอกสองจะกลับมาอีกครั้งหรือไม่ ก็เชื่อว่าระบบ Telehealth จะเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้โลกที่กำลังเผชิญกับภาวะวิกฤติ สามารถผ่านพ้นวิกฤติไปได้ โดยเกิดการสูญเสียในด้านต่างๆน้อยที่สุด.
อ่านเพิ่มเติม...
July 18, 2020 at 05:15AM
https://ift.tt/3hh2Eh3
"Telehealth" การแพทย์ยุคดิจิทัล เทรนด์ธุรกิจแสนล้าน - ไทยรัฐ
https://ift.tt/3dXvwcw
Bagikan Berita Ini
0 Response to ""Telehealth" การแพทย์ยุคดิจิทัล เทรนด์ธุรกิจแสนล้าน - ไทยรัฐ"
Posting Komentar