ธุรกิจต่าง ๆ หันมาใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานภายในองค์กร การคิดค้นนวัตกรรม และบริการใหม่ ๆ หรือการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มใหม่ ก็แล้วแต่ ท้ายที่สุดต่างต้องการเพิ่มความสามารถในการสร้างรายได้ และผลกำไรเพื่อให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างยั่งยืน
จะเป็นการลงทุนด้วยตนเอง หรือร่วมมือกับพันธมิตร หรือทำทั้ง 2 อย่างไม่มีถูกไม่มีผิด ขึ้นอยู่กับนโยบาย
แต่ละองค์กร กรณี “กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง” ซึ่งอยู่ในธุรกิจผลิตไฟฟ้า และพลังงานทางเลือกมากว่า 38 ปี เป็นหนึ่งในบริษัทที่ลุกขึ้นมาท้าทายตนเอง ด้วยการเปิดตัวหน่วยธุรกิจใหม่ “Gungul Spectrum” ซึ่งจะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บริหารเจเนอเรชั่นที่ 2 เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่มุ่งตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่กับเป้าหมายสู่การเป็น Thailand’s First Energy Trendsetter
เจน 2 ไม้ต่อธุรกิจโลกใหม่
“โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การตั้งหน่วยธุรกิจ “Gunkul Spectrum” ก็เพื่อให้เป็นหน่วยงานที่จะเข้ามาดูแลงานด้านนวัตกรรมที่สร้างมุมมองใหม่ให้ผู้บริโภคเห็นว่า “พลังงานไม่ใช่เรื่องไกลตัว” เป็นสิ่งที่ประชาชนทุกชนชั้นเข้าถึงได้ โดยทำงานร่วมกับพันธมิตรด้านการสื่อสาร และสถาบันการเงินชั้นนำของประเทศ คือเอไอเอสเน็กซ์ และ เอสซีบีเท็นเอ็กซ์ ร่วมกันพัฒนาดิจิทัลแพลตฟอร์มในการซื้อขายพลังงาน ทำให้ระบบการซื้อขายพลังงานไฟฟ้า และกลไกราคา มีความยุติธรรมกับทุกฝ่าย ทั้งผู้ขาย ผู้ซื้อ และผู้ใช้แพลตฟอร์ม
“เราตั้งเป้าว่าต้องการให้คนไทยใช้ไฟฟ้าได้อย่างอิสระ จึงร่วมงานกับ 2 พาร์ตเนอร์ อย่างเอไอเอส และเอสซีบี เพื่อดึงจุดแข็งของแต่ละองค์กรมาใช้สร้างนวัตกรรม โดยเราสนับสนุนเรื่องแหล่งพลังงาน เอไอเอสสนับสนุนเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร และการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าทั่วไป ขณะที่เอสซีบีถือเป็น financial partner สนับสนุนด้าน payment platform เป็นต้น”
ด้าน “นฤชล ดำรงปิยวุฒิ์” กรรมการบริหาร และผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานพัฒนาธุรกิจ และวางแผนกลยุทธ์ บริษัทเดียวกัน ซึ่งเป็นผู้บริหารเจเนอเรชั่น 2 เสริมว่า Gunkul Spectrum เกิดมาจากความเชื่อที่ว่า “พลังงานควรเป็นสิทธิพื้นฐานที่มนุษย์ทุกคนพึงจะได้รับ” จึงมีภารกิจในการสร้างความเชื่อมโยงด้านพลังงานไปกับสาธารณูปโภคพื้นฐานของประเทศ โดยจะมุ่งไปใน 3 แกน คือ 1.energy reformation ทำลาย
ข้อจำกัดด้านพลังงานเดิม ๆ 2.energy explorer ค้นหาแหล่งพลังงานใหม่ที่ยั่งยืน และ 3.ecosystem builder สร้างระบบนิเวศ smart energy
ชูดิจิทัลแพลตฟอร์มมุ่ง B2C
“สเปกตรัม หมายถึง ช่วงแสงที่สายตาคนมองเห็นได้ สะท้อนภาพของกันกุล สเปกตรัม ที่ต้องการเป็นแหล่งพลังงานที่จับต้องได้ เป็นสายรุ้งแห่งความหวังเพื่ออนาคตที่ดีกว่าของคนไทย ในแง่ธุรกิจ เราต้องการมีบทบาทในการเชื่อมต่อไปยังกลุ่มลูกค้าทั่วไป เป็นการทำตลาด แบบ B2C ซึ่งถือว่าขยายขอบเขตการทำธุรกิจ เพราะแต่เดิมเน้น B2B เป็นหลัก การจะต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตอบโจทย์ และเข้าถึงฐานลูกค้าใหม่ได้อย่างรวดเร็ว เราเชื่อในการนำความเชี่ยวชาญออกไปแลกเปลี่ยน หรือร่วมพัฒนากับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมของตนเอง”
สำหรับโปรดักต์ที่กำลังพัฒนา ได้แก่ peer-to-peer energy trading platform เป็นแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงานไฟฟ้าที่ออกแบบมาให้คล้ายกับระบบของตลาดหุ้น ทำให้มีการตรวจสอบสถานะการผลิตไฟฟ้าของแต่ละหลังคาเรือน กำหนดราคา จำนวน และเวลาในการซื้อขาย และกำไรหลังการซื้อขายได้
ถัดมาเป็น volt energy marketplace แพลตฟอร์มแมตชิ่งผู้ซื้อ และผู้ขายพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (solar rooftop) ซึ่งพัฒนามาจากปัญหาที่ผู้ซื้อขาดความรู้เกี่ยวกับพลังงานแสงอาทิตย์ และผู้ขายส่วนใหญ่ยังทำการตลาดแบบออฟไลน์ และมีข้อจำกัดเรื่องช่องทางการชำระเงิน
“volt จะเชื่อมต่อผู้ซื้อและผู้ขายเข้าด้วยกัน จัดหาช่องทางการชำระเงินให้ผู้ขาย และมีบริการหลังการขายให้ผู้ซื้อเพื่อลดข้อจำกัดต่าง ๆ เริ่มต้นในลักษณะ B2C และต่อยอดไปเป็นตลาดซื้อขายพลังงานแบบครบวงจรในลักษณะ B2B สร้าง ecosystem ของผู้ซื้อ และผู้ให้บริการทั้งประเทศได้”
โดยแค่มีข้อมูลว่าผู้ใช้อยู่จังหวัดใด ใช้ไฟฟ้ากี่บาท ระบบจะคำนวณให้ว่าต้องใช้ solar rooftop ขนาดเท่าใด เช่น อยู่กรุงเทพฯ ค่าไฟ 5 พันบาท ต้องใช้ solar rooftop ขนาด 5 กิโลวัตต์ จากนั้นจะเปรียบเทียบให้เห็นว่ามีผู้ให้บริการกี่ราย แต่ละรายมีความน่าเชื่อถือหรือไม่ เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม peer-to-peer energy trading platform ยังถือเป็นก้าวสำคัญของ Gunkul Spectrum เนื่องจากได้รับสิทธิ์ในการทำโครงการนำร่องร่วมกับคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคและการไฟฟ้านครหลวง โดยนำแพลตฟอร์มดังกล่าวไปจำลองการซื้อขายให้เกิดขึ้นในระดับข้ามจังหวัด และข้ามภูมิภาค เพื่อให้ภาครัฐและประชาชนเข้าใจเรื่องพลังงานไฟฟ้าทดแทนมากขึ้น จนนำไปสู่การนำแพลตฟอร์มไปใช้ได้ทั้งประเทศ
“AIS-SCB” ร่วมด้วยช่วยกัน
“อราคิน รักษ์จิตตาโภค” หัวหน้าหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรม บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) กล่าวว่า ได้เข้ามาร่วมในโครงการนำร่องพัฒนาแพลตฟอร์มซื้อขายพลังงาน peer-to-peer energy trading platform โดยนำหมายเลขโทรศัพท์มือถือ หรือ mobile ID ที่พัฒนาภายใต้เทคโนโลยี blockchain มาสนับสนุนการทำงานของแพลตฟอร์มดังกล่าว ซึ่งในอนาคตจะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามาซื้อขายแลกเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าได้อย่างเสรี
“blockchain เข้ามาช่วยบริหารจัดการธุรกรรมการซื้อขายไฟฟ้าให้เกิดประสิทธิภาพ ขณะที่ผู้ซื้อหรือผู้ขายไฟฟ้าจะเชื่อมต่อเข้า blockchain ผ่าน mobile ID ที่ผ่านการตรวจสอบแล้วได้ปลอดภัย เป็นการขยายศักยภาพเทคโนโลยี และดิจิทัลแพลตฟอร์มที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้บริโภคทั่วไปได้ เรามีเครือข่ายผู้ใช้กว่า 41 ล้านคน จึงมีความเชี่ยวชาญในการทำการตลาดแบบ B2C และรู้อินไซต์ผู้บริโภค คาดว่าจะช่วยให้การพัฒนาแพลตฟอร์มเป็นไปได้รวดเร็ว”
ฟาก “กวีวุฒิ เต็มภูวภัทร” Head of Venture Builder บริษัท เอสซีบีเท็นเอ็กซ์ จำกัด ในเครือธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่าเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในการที่จะร่วมสร้างเทคสตาร์ตอัพ หรือนวัตกรรมใหม่ ๆที่ไม่เคยมีมาก่อน และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจและสังคมได้ โดยบริษัทมีศักยภาพที่จะให้การสนับสนุนด้านบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการพัฒนานวัตกรรม การเข้าถึงเทคโนโลยี และกลยุทธ์การนำเสนอธุรกิจสู่ตลาด รวมถึงเซอร์วิสอื่น ๆ เพื่อให้นวัตกรสร้างไอเดียจนสำเร็จ และมีโอกาสแยกออกมาเป็นบริษัทใหม่ที่ลงทุนร่วมกันได้ในอนาคตด้วย
อาจกล่าวได้ว่า ความร่วมมือระหว่างธุรกิจข้ามสายพันธุ์เป็นอีกแนวทางในการแสวงหาโอกาสใหม่ท่ามกลางกระแสเทคโนโลยีดิสรัปต์
September 13, 2020 at 10:47AM
https://ift.tt/33iZF28
3 ประสาน 'กันกุล-AIS-SCB' พลิกธุรกิจพลังงานเจาะลูกค้า B2C - ประชาชาติธุรกิจ
https://ift.tt/3dXvwcw
Bagikan Berita Ini
0 Response to "3 ประสาน 'กันกุล-AIS-SCB' พลิกธุรกิจพลังงานเจาะลูกค้า B2C - ประชาชาติธุรกิจ"
Posting Komentar