14 กันยายน 2563 | โดย บริษัท แอ๊ดวานซ์ ไลฟ์ ประกันชีวิต จำากัด (มหาชน) | คอลัมน์ Wealth Creation
92
เปิด 3 เคล็ดลับการสร้างความมั่งคั่งทางการเงิน ที่สามารถทำด้วยตัวเองได้อย่างง่ายๆ จากการมีกลยุทธ์การลงทุนที่ดี ซึ่งจะทำให้เงินทุนของเรางอกเงยได้อย่างยั่งยืน
การสร้างความมั่งคั่งทางด้านการเงิน เป็นเป้าหมายสำคัญของใครหลาย ๆ คนในทุกวันนี้ เพราะเพียงแค่เงินที่หามาได้ในแต่ละเดือนจากงานประจำ อาจไม่เพียงพอต่อชีวิตหลังเกษียณของตัวเอง การนำเงินที่ตัวเองแบ่งเก็บออกไว้แต่ละเดือนไปสร้างความงอกเงย หรือเรียกง่ายๆ ว่า ไปทำให้เงินของเรามันเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการทำงานนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการนำไปลงทุนรูปแบบต่างๆ เพื่อเป็นลู่ทางการทำเงินเพิ่มเติมเมื่อยามเราเกษียณ
กลยุทธ์การลงทุนที่เหมาะกับรูปแบบของชีวิตตัวเอง เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างความมั่งคั่งทางการเงิน การมีกลยุทธ์การลงทุนที่ดี จะสามารถทำให้เงินทุนของเรางอกเงยได้อย่างยั่งยืน ขั้นตอนเริ่มต้นในการวางแผนง่ายๆ เลยก็คือ เราต้องมีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน และเป็นไปได้จริง ไม่ใช่คิดแบบเพ้อฝันว่า เราจะมีเงินเก็บ 100 ล้านบาท ภายใน 5 ปี โดยที่เรามีเงินเดือนเพียงแค่ 15,000 บาท และที่บ้านไม่ได้มีกิจการอะไร ควรคิดถึงพื้นฐานความเป็นจริงด้วยนั่นเอง
เคล็ดลับการสร้างความมั่งคั่งทางการเงิน มีดังนี้ครับ
1.มีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจนอยู่ตลอดเวลา
ในการลงทุนทางการเงินทุกอย่าง ต้องอย่าลืมเป้าหมายที่เราวางไว้ตั้งแต่แรกว่า เราต้องการลงทุนไปเพื่ออะไร อยากได้อะไร เท่าไร จากการลงทุนนี้ เพื่อให้เราไม่หลงทาง และทำการลงทุนตามเป้าหมายที่เรามีไว้ตั้งแต่แรก เมื่อเรามีเป้าหมายที่ชัดเจนแล้ว จะทำให้เราสามารถเลือกเครื่องมือการลงทุนต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับเป้าหมายเราได้ สามารถประเมินความเป็นไปได้ของการลงทุนนั้น ๆ ว่าจะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนั้นหรือไม่
เช่น เป้าหมายทางการเงินของเรา คือ มีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 2 หมื่นบาท โดยไม่มีหนี้สิน
เมื่อเราได้เป้าหมายแล้ว เราก็จะมาประเมิณเครื่องมือทางการเงินหลายๆ อย่าง ว่ามีอะไรที่ตอบโจทย์เราบ้างนั่นเอง มีเงินใช้หลังเกษียณเดือนละ 2 หมื่นบาท เรามาดูเครื่องมือที่เรียกว่า “ประกัน” กันไหมล่ะ ประกันชีวิตแบบบำนาญ คือ ประกันชีวิตรูปแบบหนึ่ง ที่เราชำระค่าเบี้ยไป จะคืนผลตอบแทนเรามาเมื่อเราเกษียณนั่นเอง
หลังจากนั้น เราก็มาศึกษาดูว่า ประกันแบบไหนที่ครอบคลุมความต้องการของเรา เราต้องมีกำลังเพียงพอในการชำระเบี้ยเท่าไรต่อปี ถึงจะไปสู่เป้าหมายของเรา เพราะประกันแต่ละบริษัท ก็จะมีเงื่อนไข และมีผลตอบแทนที่แตกต่างกัน หรือ การไม่มีหนี้สินเหลือไว้เมื่อยามเกษียณ เราก็ต้องมาสำรวจตัวเราเองดูว่า ณ ปัจจุบัน เรามีหนี้สินอะไรบ้าง และมาจัดการหนี้สินเหล่านั้นด้วยการวางแผน อะไรต้องหมดไปก่อน อะไรหมดหลังได้ เนื่องจากดอกเบี้ยถูกกว่า ก็ต้องค่อยๆ มาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมเพิ่มเติม
2.ประเมินความเสี่ยงที่ตัวเรารับได้
จากข้างต้น หากเรามีเป้าหมาย รู้วิธีการที่จะไปถึงเป้าหมายนั้นว่ามีอะไรบ้าง วิเคราะห์สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อวิธีการต่างๆ เราต้องอย่าลืมประเมินความเสี่ยงที่ตัวเรารับได้ด้วย เช่น เราไม่อยากมีหนี้หลังเกษียณแล้ว แต่ตอนนี้เรามีหนี้บ้าน หนี้รถอยู่ ที่ต้องผ่อนชำระทุกเดือนไปอย่างยาวนาน บางคนกู้เต็ม 35 ปี หากชำระทุกเดือนโดยไม่เพิ่ม หรือไม่มีเงินก้อนโปะเพิ่ม หลังเกษียณอาจยังต้องผ่อนบ้านอยู่เลย
ก็อาจมานั่งพิจารณาดูว่า เราจะหาเงินจากไหนมาทำให้หนี้สินเหล่านั้นเราหมดไปก่อน บางคนอาจจะเลือกลงทุนในหุ้น เนื่องจากได้ผลตอบแทนที่สูง สามารถไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น ซึ่งก็แล้วแต่ความต้องการของแต่ละคนนะครับ เพราะโปรดจงจำไว้ว่า ทุกการลงทุนมีความเสี่ยง ไม่ใช่ทุกครั้งในการลงทุน เราจะสำเร็จเสมอไป เราต้องคิดเผื่อไว้ด้วยว่า หากว่าเป็นในทางที่เลวร้ายที่สุดในการลงทุนนั้นๆ เราจะทำใจยอมรับสภาวะการขาดทุนจากการลงทุนที่เราเลือกได้มากน้อยแค่ไหนนั่นเอง
3.ศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม
แน่นอนว่า เราอาจจะรู้วิธีการไปถึงเป้าหมายมากมาย แต่บางอย่างเราอาจจะไม่ได้ทราบถึงรายละเอียด หรือผลกระทบของการลงทุนนั้นๆ ครบทุกด้าน เพราะฉะนั้นก่อนที่จะตัดสินใจเลือกลงทุนอะไรไป นอกจากประเมินความเสี่ยงที่เรารับได้แล้ว เราต้องศึกษารายละเอียดแต่ละวิธีด้วย ซึ่งหากไม่มั่นใจจริงๆ แต่ละรูปแบบการลงทุนก็จะมีผู้เชี่ยวชาญคอยแนะนำอยู่ ลองสอบถาม และศึกษาผ่านผู้เชี่ยวชาญแทนก็ได้ครับ
การมีเป้าหมายเป็นสิ่งที่ดี การพยายามไปให้ถึงเป้าหมายก็เป็นสิ่งที่ดีเช่นเดียวกัน แต่อยากให้ทุกๆ ท่านไม่รีบร้อน ค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้เราไปถึงเป้าหมายนั้นได้อย่างมั่นคง และไม่ต้องเสียสุขภาพจิตกันมากมายครับ
September 13, 2020 at 11:49PM
https://ift.tt/3hq5gJ6
เคล็ดลับการสร้าง 'ความมั่งคั่ง' ทางการเงิน - กรุงเทพธุรกิจ
https://ift.tt/3h2hF6O
Bagikan Berita Ini
0 Response to "เคล็ดลับการสร้าง 'ความมั่งคั่ง' ทางการเงิน - กรุงเทพธุรกิจ"
Posting Komentar